หลักการและเหตุผล
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานระหว่างนายจ้าง กับ ลูกจ้าง โดยมีเจตนารมณ์ที่สำคัญคือ “ต้องการคุ้มครองลูกจ้างให้มีมาตรฐานในการจ้างงานที่เหมาะสม ที่กำหนดโดยรัฐ” โดยตราเป็นกฎหมายสังคมหรือกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ดังนั้นประเด็นสำคัญก็คือ นายจ้างและลูกจ้างไม่สามารถที่จะตกลงกันเพื่อยกเว้นไม่ให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายได้ หากมีการตกลงกันแม้ว่าจะมีการลงนามทั้งสองฝ่าย ก็ไม่สามารถใช้บังคับได้ ถือเป็นโมฆะ
ผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการ หัวหน้างาน เป็นบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กร มอบหมายให้เป็นผู้แทนของนายจ้างในการบริหารจัดการ ปกครอง บังคับบัญชา ควบคุมดูแล ประเมินผลงาน สั่งการ และลงโทษกรณีที่ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับ ข้กำหนด ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ซึ่งหลายครั้งพบว่าผู้บังคับบัญชา ผู้จัดการ หัวหน้างาน ยังขาดความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานที่เป็นกฎหมายที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากกฎหมายทั่วไป
เพื่อให้มีความเป็นปัจจุบันต่อสถานการณ์ กฎหมายคุ้มครองแรงงานก็มีการแก้ไข เพิ่มเติมมาโดยตลอด มีวิวัฒนากรตั้งแต่ตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 จนปัจจุบัน ซึ่งผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับบัญชา หัวหน้างาน ควรที่จะศึกษาหาความรู้ ให้เกิดความเข้าใจ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมาย
บทบัญญัติของกฎหมายสำหรับการอบรม
- พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จนถึง (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562
- พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เนื้อหาหลักสูตร
- เจตนารมณ์ของการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในประเทศไทย
- วิวัฒนาการของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน
- ใครคือนายจ้าง
- เงิน ผลประโยชน์ที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างทุกเดือน อะไรเป็นค่าจ้าง อะไรไม่เป็นค่าจ้าง
- หลักเกณฑ์การเรียกหลักประกันในการทำงาน และหลักประกันความเสียหายจากการทำงาน
- การหักค่าจ้างมีหลักเกณฑ์อย่างไร
- วันหยุด และ วันลา ต่างกันอย่างไร
- การวิเคราะห์หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการหยุดและการลาของแต่ละบริษัท
- สภาพการจ้างคืออะไร สำคัญอย่างไร
- ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสำคัญอย่างไร
- การพักงานระหว่างสอบสวน
- การจ้างพนักงานภายหลังเกษียณอายุงาน
- การย้ายสถานประกอบกิจการต้องดำเนินการอย่างไร
- การลดจำนวนลูกจ้างเพราะเหตุนำเครื่องจักร เทคโนโลยีมาใช้ ต้องดำเนินการอย่างไร
- หลักการ วิธีการของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่หัวหน้างานควรรู้
********** ขอสงวนสิทธิ์ ห้ามคัดลอก ใดๆ ทั้งสิ้น**********
หมายเหตุ
-อัตราค่าสัมมนา ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม /นิติบุคคลสามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ได้
-ราคารวม เอกสารการอบรม / อาหารว่างและอาหารกลางวันตลอดหลักสูตร (สำหรับหลักสูตร On-Site)
-วุฒิบัตรมอบให้ พร้อมไฟล์เอกสาร
*****ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมสัมมนา สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200% *****