นายจ้างย่อมไม่ต้องการมีข้อพิพาทขึ้นศาลกับลูกจ้าง ฉะนั้น….ต้องกันไว้ดีกว่าแก้ “จ้างแบบไหนดีกว่า…จ้างเป็นลูกจ้าง เป็นผู้รับจ้าง เป็นผู้รับเหมาค่าแรง เป็นตัวแทนโดยมีบำเหน็จ เป็นที่ปรึกษา หรือเป็นผู้ทำงานต่างตอบแทน”
รูปแบบทำงานแบบไหนดีกว่า.…ทำงานมีกำหนดเวลา หรือไม่มีกำหนดเวลา หรือให้ทำประจำ หรือให้ทำงานชั่วคราว ต้องให้ทดลองทำงานหรือไม่ คนทำงานแต่ละประเภทอยู่ในบังคับของกฎหมายใด มีสิทธิหน้าที่เพียงใด ผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบต่อคนทำงานนั้นมากน้อยเพียงใด
หัวข้อสัมมนา เริ่มเวลา 09.00-16.00 น.
1. หลักเกณฑ์ของสัญญาจ้างแรงงาน
2. ศาลวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างแรงงาน ควรเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างต้องมีอำนาจบังคับบัญชานั้น มีหลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไร
3. ตัวอย่างที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงาน หรือไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
4. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้นายจ้างหมายความว่าอย่างไร
5. ข้อยกเว้นในกรณีต่างๆ ที่นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง แม้ไม่มาทำงานให้แก่นายจ้าง
6. หลักเกณฑ์ของสัญญาจ้างทำของ มีอย่างไร
7. ตัวแทนโดยมีบำเหน็จมีลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง
8. คนทำงานตามสัญญาต่างตอบแทน มีลักษณะอย่างไร อะไรบ้าง
9. สัญญารับเหมาค่าแรง มีหลักเกณฑ์อย่างไร ผู้จ้างเหมาค่าแรงมีหน้าที่รับผิดชอบต่อผู้มาทำงาน อะไรบ้าง
10. นายจ้างทำสัญญาเอาเปรียบลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานมาตรา 14/1 มี ลักษณะอย่างไร มีผลบังคับได้หรือไม่
11. สัญญาจ้างแรงงานที่ขัดต่อข้อจำกัดของกฎหมายคุ้มครองแรงงานมีลักษณะ หรือ ผลอย่างไร มีโทษหรือไม่
12. หลักเกณฑ์ของสัญญาจ้างแรงงานประเภทต่างๆ เช่น
Ø สัญญาจ้างลูกจ้างรายเดือน / รายชั่วโมง
Ø สัญญาจ้างลูกจ้างตามผลสำเร็จของงาน
Ø สัญญาจ้างทดลองงาน
Ø สัญญาจ้างมีกำหนดเวลาแน่นอน/ แบบไม่มีกำหนดเวลา
Ø สัญญาจ้างเป็นช่วงๆ
Ø สัญญาจ้างหลังเกษียณฟ
Ø สัญญาฝึกงาน
Ø สัญญาให้ฝึกอบรมและมาทำงานชดใช้
Ø สัญญาค้ำประกันการทำงาน
Ø สัญญาห้ามทำงาน , ข้อจำกัดในการทำงาน
Ø สัญญาการทำงานที่มีลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร ฯลฯ
13. สิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง ข้อดี ข้อเสียของสัญญาจ้างต่างๆ ตามข้อข้างบน
14. สัญญาต่างๆ ข้างต้นอยู่ในข้อบังคับของกฎหมายใด ผู้ให้ทำงาน และผู้ทำงานมีสิทธิและหน้าที่ต่อกันอย่างไร
15. สัญญาต่างๆ ข้างต้นทั้งหมด เมื่อมีข้อพิพาทต้องขึ้นศาลใด
16. คณะกรรมการต่าง ๆ ที่ไม่เป็นนิติบุคคล เช่น คณะกรรมการหมู่บ้านจ้างลูกจ้างมาทำงานให้หมู่บ้าน ต้องทำอย่างไร ถือเป็นนายจ้างและต้องรับผิดเป็นส่วนตัวหรือไม่
17. คณะบุคคล หุ้นส่วน ไม่จดทะเบียน เช่น กิจกรรมร่วมค้า consortium จ้างคนมาทำงาน ต้องทำอย่างไร ใครเป็นนายจ้าง ใครต้องรับผิดชอบ
18. ลูกจ้างของนิติบุคคลต่างประเทศ ที่มีสาขาหรือไม่มีสาขาในประเทศไทย หรือมีบริษัทลูกในประเทศไทยนั้น ใครเป็นนายจ้าง ใครต้องรับผิดชอบ
19. นายจ้างที่เป็นผู้รับเหมาชั้นต้น และผู้รับเหมาช่วง มีหน้าที่รับผิดชอบต่อลูกจ้างอย่างไร
20. ถาม – ตอบปัญหา
หลักสูตรนี้ เหมาะสำหรับ
j ผู้บริหาร
k เจ้าของกิจการ
l ฝ่ายบุคคล
m นิติกร หรือ ฝ่ายกฎหมาย
n ผู้ที่สนใจหรือสายงานที่เกี่ยวข้อง