หลักสูตร 1 วัน
ปัญหา ทางภาษีจากค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่นักบัญชีและผู้บริหารควรรู้ ได้แก่ กรณีใดต้องมีภาษีขาย กรณีใดได้รับยกเว้น กรณีใดบ้างต้องออกใบกำกับภาษี กรณีใดบ้างไม่ต้องออกใบกำกับภาษี การคำนวณฐานภาษีใช้ราคาตลาดหรือราคาทุนของสินค้า จุดรับผิดเกิดขึ้นเมื่อใด สามารถขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ถือเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้หรือไม่ และกรณีใดบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเท่าไร เมื่อใด
เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องไปพร้อมกับการประหยัดภาษี หลักสูตรนี้เจาะลึกทุกแง่มุม ประเด็นภาษีที่น่าสนใจในรายจ่ายต้องห้าม ที่นักบัญชี และผู้บริหารไม่ควรพลาด
เนื้อหาหลักสูตร เวลา 09.00-16.00 น.
§หลักเกณฑ์ภาษีซื้อต้องห้าม & รายจ่ายต้องห้าม หลักการแบบแจ่มๆ
§ปรับโฟกัสกันชัดๆ กับประเด็นโดนๆ
Øเหตุเกิดเพราะใบกำกับภาษี เช่น มีการแก้ไข ได้รับมาช้า ได้รับชื่อเดิม ได้รับเป็นชื่อ พนักงานหรือกรรมการ รายการไม่ถูกต้องไม่
ครบถ้วน รายการเกิน บางรายการไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือจากคอมพิวเตอร์
Øอบรม สัมมนา สวัสดิการ
Øจัดอาหารให้กับพนักงาน จ่ายเบี้ยประกันภัยรถยนต์ให้พนักงาน
Øส่งเสริมการขาย
Øค่าอาหาร ค่าโรงแรมของพนักงาน - แจกของขวัญให้พนักงาน แจกของรางวัลให้กับลูกค้า
Øก่อสร้าง/ตกแต่ง อาคารสำนักงาน โรงงาน - นำสินค้าหรือบริการมาใช้ในกิจการของตนเอง
Øกาแฟ น้ำตาล คอฟฟี่เมท เครื่องดื่มและอื่นๆ อีกมากมายที่จัดไว้เพื่อรับรองลูกค้า
Øของขวัญที่มอบตามเทศกาล และในโอกาสต่างๆ
Ø ภาษีซื้อสินค้าสำหรับกิจกรรมส่งเสริมการขาย
- ซื้อสินค้ามาแถมให้กับลูกค้า - ซื้อ/เช่า/เช่าซื้อ/ซ่อมแซมรถเก๋ง รถกระบะ รถบรรทุก
Øค่าทางด่วน ค่าบัตรทางด่วน ค่าน้ำมัน
Øบริจาคทรัพย์สิน สินค้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย และบริจาคสินค้ากรณีต่างๆ อื่นๆ อีกมากมายก่ายกอง
§ไขปริศนาลับ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษีซื้อกับรายจ่าย
- กรณีที่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามและรายจ่ายต้องห้าม - กรณีที่ถือเป็นภาษีซื้อต้องห้ามและหักเป็นรายจ่ายได้
§จัดการอย่างไรกับภาษีซื้อให้ได้ประโยชน์ทางภาษีสูงที่สุด ?
v เอาไปเล๊ย!! Update ภาษีใหม่ที่น่าสนใจ กับหลักเกณฑ์ง่ายๆ ที่น่าติดตาม อาทิเช่น
Ø กิจการ “สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ” ( International Headquarter : IHQ)
Ø กิจการ “บริษัทการค้าระหว่างประเทศ” (International Trading Centers : ITC)
Øเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ
Øยกเว้นรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง
Øยกเว้นค่าท่องเที่ยวภายในประเทศ 15,000 บาท
Øกำหนดเวลาขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย มาตรา 63 แห่งประมวลรัษฎากร(ปรับปรุงใหม่)
Øหลักเกณฑ์และอัตรา SMEs ปี 58 เป็นต้นไป และผลกระทบกรณีประมาณการกำไรสุทธิเป็น SMEs
แต่ผลประกอบการเมื่อสิ้นรอบหลุดจากการเป็น SMEs
Øการเสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
Øภาษีมรดก (Inheritance Tax) ภาษีการให้ (Gift Tax) ที่จะมีผลใช้บังคับเร็วๆ นี้
อีกครั้ง!! คลี่คลายความสับสนที่ยังคงอยู่กรณี ข้อความใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ใบกำกับภาษี และรายงาน VAT ที่เริ่มใช้บังคับ 1 ม.ค.58